พีระมิดการเรียนรู้ของ Edgar Dale ( Cone of Learning)

การสอน การถ่ายทอด การแบ่งปันความรู้นั้น เป็นเรื่องที่ไม่ใช่ว่าใครๆจะทำก็ทำกันได้ การเตรียมตัวที่ดี การทำการบ้านอย่างหนักก่อนที่จะนำความรู้มาสอนผู้อื่น ว่าทำอย่างไรผู้ฟัง หรือผู้ได้รับข้อมูลจากเราไปจะเข้าใจและรู้เรื่อง เป็นเรื่องชวนให้คิด วันนี้เราจึงจะพอทุกท่านมารู้จักกับ ทฤษฎีพีระมิดการเรียนรู้ของ Edgar Dale กัน

Edgar Dale (1900-1985) เป็นนักวิจัยและอาจารย์ของวิธีการสอนใหม่โดยใช้สื่อโสตทัศน์และภาพ Edgar Dale ได้นำเสนอรูปแบบของการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบของกรวยที่เรียกว่า “กรวยการฝึกอบรมของ Edgar Dale” จากการศึกษาทั้งหมดเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการเรียนรู้ที่ทำการทดลอง โดยสรุปถึงวิธีการเรียนรู้ แต่ละวิธีจะได้รับประสิทธิภาพแตกต่างกัน ดังนี้

  • Lecture การเรียนรู้แบบนั่งเรียน ฟังบรรยาย พบว่าผลที่ได้รับ 5% การเรียนแบบนี้มันสามารถถูกลืมในที่สุด หรือคุณไม่สามารถจดจำได้ทั้งหมด
  • Reading การอ่าน พบว่าผลที่ได้รับอยู่ประมาณ 10% มันทำให้คุณรู้ และเข้าใจตอนที่อ่าน แต่อย่างไรก็ตามถ้าไม่ทบทวนมันก็ไม่ต่อเนื่อง ลืมไปในที่สุด
  • Audio and Visual การเรียนรู้โดยการฟัง ดูวิดีทัศน์ การฟังเสียง ดูรูปภาพ หรือวีดีโอ ได้ผลมากขึ้นประมาณ 20%
  • Demonstration การเรียนรู้โดยแสดงตัวอย่าง การสาธิตให้ดู ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพถึง 30%
  • Discussion การเรียนรู้ด้วยการพูดคุย แบ่งปันความคิดเห็น ได้ผลมาถึง 50% เลยทีเดียว เช่นการเรียนเป็นกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่ม
  • Practice doing การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ ทำจริง ทดลองทำ ได้ผลมาถึง 75% เกิดจากลองทำและได้เจอปัญหา เข้าใจขั้นตอนลงมือทำ เช่น การทดลองทำอาหาร เป็นต้น
  • Teach other การสอนผู้อื่น หลังจากที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีต่างๆ สามารถรวบรวม ประมวลความรู้ จัดทำบทเรียน หรือบทสรุปเพื่อถ่ายทอดให้ผู้อื่น การเรียนรู้ เช่นนี้ คุณได้ถึง 90% ซึ่งยากที่คุณจะลืม

Edgar Dale ในปี 1969 ระบุวิธีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพที่สุดไว้ดังนี้

  1. ให้การบรรยาย แม้ว่าการฟังการบรรยายเป็นหนึ่งในวิธีที่เลวร้ายที่สุดในการเรียนรู้ การบรรยายในหัวข้อของคุณ (ในฐานะวิทยากร) ก็ยังคงเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด
  2. เขียนบทความ หากคุณมีบล็อกหรือหน้าเว็บคุณสามารถรวบรวมบทความในหัวข้อของคุณ
  3. สร้างโปรแกรมวิดีโอ แม้ว่าคุณจะไม่มีบล็อกหรือหน้าเว็บของคุณเอง แต่ตอนนี้มีพอร์ทัลวิดีโอมากมายเช่น Youtube ซึ่งคุณสามารถอัปโหลดวิดีโอของคุณเพื่อรับชมฟรี นี่เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากเนื่องจากคุณกำลังเตรียมสื่อการเรียนการสอนที่ไม่สามารถใช้ได้กับนักเรียนกลุ่มเล็ก ๆ แต่สำหรับผู้ชมทั่วโลก
  4. พูดคุยกับเพื่อน ๆ หนึ่งในเทคนิคที่ง่ายและเข้าถึงได้มากที่สุดสำหรับคุณคือการสื่อสารกับผู้คนในวงสังคมของคุณ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมนำเสนอหัวข้อที่น่าสนใจในการสนทนาและนำความรู้ทั้งหมดที่คุณมีให้ในหัวข้อนี้ ยิ่งคุณสนทนากับคนนี้มากเท่าไหร่โอกาสที่คุณจะจำเนื้อหานี้ได้มากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ยังมีวิธีนับร้อยวิธีในการดำเนินการสนทนาออนไลน์โดยเข้าร่วมในฟอรัมความสนใจห้องแชทหรือเครือข่ายสังคมออนไลน์
  5. ทำมันเอง ไม่ว่าคุณจะสอนคนอื่นอย่างไรคุณต้องแน่ใจด้วยตัวเอง

วิธีพัฒนาทักษะความรู้พนักงานจากพีระมิดการเรียนรู้ของ Edgar

ยกตัวอย่างหาก HR จัดโครงการสนับสนุนให้พนักงานเป็น ผู้ฝึกสอนงาน ในส่วนที่พนักงานชำนาญ เพื่อให้ความรู้และพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร การจัดทำ อาจเริ่มต้นโดย

  • ตั้งชื่อโครงการ อันนี้สามารถตั้งได้ตามการ
  • กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายของการจัดการอบรม หรือพัฒนาบุคคลากร
  • สร้างขั้นตอน
  • เชิญชวนพนักงานเริ่มต้นจากกลุ่มเล็กๆ 15 – 30 คน ที่มีความสามารถ ความเชี่ยวชาญตามความต้องการที่จะอบรม หรือสามารถสร้างการอบรม ตามความหลากหลายของความถนัดและความเชี่ยวชาญของคนที่เราชวนเข้ากลุ่มวิทยกร

*ข้อแนะนำคืออย่าจำกัด ให้เปิดกว้างทางการเรียนรู้ ทุกอย่างมีประโยชน์ต่อการทำงานทั้งสิ้นหากรู้จักประยุกต์ใช้”

*ควรจัดการอบรมในส่วนที่พนักงานอยากเรียนสลับกับส่วนที่พนักงานจำเป็นต้องเรียน

  • พัฒนาพนักงานที่อาสาเป็นวิทยากร โดยเข้าเรียนหลักสูตร “Train The Trainner” และการเขียนหลักสูตรเตรียมการเรียนการสอน
  • สนับสนุนให้มีการจัดอบรมหลักสูตรสั้นๆ 3 ชั่วโมง กับกลุ่มเล็กๆ ก่อน 10 – 12 คน
  • เสนอกลยุทธ์หรือแรงจูงใจให้เกิดมีการเรียนการสอน
  • การให้ค่าตอบแทนการจัดทำหลักสูตรให้กับพนักงานผู้สอน คิดเป็นชั่วโมงต่อครั้ง(เชื่อเถอะว่าเมื่อคำนวณออกมาแล้วเป็นงบประมาณที่ไม่แพงเลย เมื่อเปรียบเทียบกับการจ้างวิทยากรภายนอก)
  • จัดพื้นที่ให้พนักงานได้แสดงความสามารถ
  • มีการสนับสนุนการจัดอบรมด้วยการทำประชาสัมพันธ์ เป็นพี่เลี้ยงช่วยดูแลตลอดหลักสูตร
  • เปิดหลักสูตรที่พนักงานอยากเรียนก่อน
  • ติดตามผล และประสิทธิภาพ

ลองรับฟังเสียงพนักงานหลังการอบรมสามารถทำงานได้ดีขึ้นหรือไม่ เกิดความรู้ความเข้าใจในการทำงาน หรือตามกิจกรรมที่เราจัดอบรมหรือไม่ เพื่อใช้พิจารณาในการเปิดหลักสูตร หรือโครงการอื่นๆ โดยมีแนวร่วมและคนสนับสนุนเมื่อเห็นประสิทธิภาพของการเรียนรู้ผ่านการอบรม

  • ทำการบันทึกการอบรม ไว้เพื่อใช้เป็นวีดีโอเทรนนิ่งในอนาคต หรือเพื่อให้สามารถทบทวนทำความเข้าใจได้ผ่านช่องทางการจัดการเรียนรู้ ทางระบบออนไลน์ของบริษัท

>>> เพราะความรู้ยิ่งฝึกให้ชำนาญเรายิ่งเก่ง การให้ความรู้ก็เช่นกันนอกจากจะเป็นการทบทวนของตัวเองแล้วนั้น การพัฒนาและแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนร่วมงานยังเป็นการสร้างคุณค่าและเพิ่มศักยภาพ เพิ่มความสามารถให้กับเราเองได้ด้วย แถมสุดท้ายยังมีประโยชน์กับองค์กรอย่างมากมายอีกด้วย <<<

ที่มา https://skudelnica.ru/th/psihologiya/

http://www.ezy-hr.com/

รูปภาพ https://www.pexels.com/

Related Posts